ฉนวนกันความร้อน อีกหนึ่งวัตกรรมที่ช่วยลดอุณหภูมิให้แก่ บ้าน อาคาร และโรงงานได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถช่วยให้ลดความร้อนได้โดยตรง สามารถ้งานได้อย่างยาวนาน ทำให้ตอบโจทย์กับสถานที่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความร้อนสูงได้เป็นอย่างมาก แล้วฉนวนกันความร้อน มีกี่ประเภท เรามีคำตอบเหล่านี้มาแชร์ให้ทุกท่านได้ดูกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันได้เลย
5 ประเภท ฉนวนกันความร้อน ที่ควรรู้ก่อนติดตั้ง
ปัจจุบัน ฉนวนกันความร้อนในประเทศไทยจะมีอยู่หลายประเภทมาก ๆ แต่มี 5 ประเภทใหญ่ ๆ ที่ผู้คนให้ความนิยมใช้กัน ดังนี้
ฉนวนไมโครไฟเบอร์ เหมาะสำหรับงานฝ้าและเพดาน ซึ่งเป็นฉนวนที่สามารถกันความร้อนและยังป้องกันเสียงมีทั้งแบบติดฝ้าเพดานชนิดทีบาร์ รวมไปถึงแบบปูกันความร้อนด้านบนฝ้าเพดาน ซึ่งฉนวนประเภทนี้จะช่วยลดความร้อนที่ถ่ายเทลงมาจากหลังคาได้อย่างดีเยี่ยม อีกทั้งยังสามารถป้องกันเสียงฝนและเสียงรบกวนอื่น ๆ จากข้างบนหลังคาได้เป็นอย่างดี
ฉนวน rockwool คือ ฉนวนใยหินที่ทำมาจากใยหินภูเขาไฟจึงจะมีความเสถียรและความทนทานตามธรรมชาติในระดับมาตรฐาน อีกทั้งยังสามารถทนไฟและทนความร้อนได้สูงกว่า 1000 องศาเซลเซียส ทำให้ปลอดภัยต่อการอยู่อาศัยและติดตั้งเป็นอย่างมาก
3. ฉนวนใยเซลลูโลส
ฉนวนใยเซลลูโลส เป็นฉนวนที่ผลิตมาจากเยื่อไม้หรือเยื่อกระดาษ ซึ่งผ่านกระบวนการรีไซเคิลและใส่สารป้องกันไฟลงในเยื่อกระดาษ ทำให้ป้องกันไฟได้ในระดับหนึ่งมีถึง 3 รูปแบบให้เลือกใช้งานเหมาะกับการประยุกต์ใช้งานในผนังห้องหรือผนังของอาคาร รวมไปถึงใต้หลังคาของอาคารอีกด้วย
4. ฉนวนแคลเซี่ยมซิลิเกต
ฉนวนแคลเซียมซิลิเกต ฉนวนชนิดนี้จะมีลักษณะพรุนผลิตจากการนำทรายซีลิเซียสเส้นใยและน้ำปูนขาวมาอบด้วยเครื่องอบความร้อนสูงพลังไอน้ำจนเกิดเป็นปูนสีขาวไฮเดรตที่มีเส้นใยละเอียด ซึ่งจะมีทั้งแบบแย้แร่และแบบใยสังเคราะห์ที่สามารถตัดแปะเหมือนแผ่นยิปซั่มและทาสีทับได้ อีกทั้งยังสามารถต้านทานความร้อนได้สูงถึง 650 องศาเซลเซียส จึงเหมาะกับการใช้ในงานอุตสาหกรรมที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงนั่นเอง
5. ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์
ฉนวนอลูมิเนียมฟอยล์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้าพื้นผิวจะมีความมันวาวเหนียวเป็นพิเศษบางเรียบไม่ฉีกขาดง่าย มีคุณสมบัติในการช่วยสะท้อนความร้อนแต่ก็ไม่ได้ป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน 100% จึงนิยมในการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาและหากใช้งานร่วมกับฉนวนประเภทอื่น จะทำให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้มากยิ่งขึ้น
หากคุณเองก็กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับที่บ้านหรือสถานที่ทำงานนั้นร้อนจนเกินไป การติดตั้งฉนวนกันความรอน ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่จะช่วยให้อุณห๓มินั้นลดลง ไม่ทำให้ร้อน และยังประหยัดค่าไฟลงได้อีกด้วย
Comments