top of page

วัสดุที่ใช้ในการหุ้มฉนวนกันความร้อนและความเย็น

วัสดุที่ใช้งานหุ้มฉนวนกันความร้อน


1. ฉนวน Rockwool หรือร็อควูล

rockwool insulation

เป็นยี่ห้อที่นิยมใช้กันแพร่หลายในงานฉนวนกันความร้อนทั้งในงานภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งงานสำหรับฉนวนกันความร้อนและฉนวนกันเสียงในบ้านและอาคาร โดย Rockwool มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก มีโรงงานผลิตทั้งหมด 45 โรงงานใน 3 ทวีปทั่วโลก (ยุโรป อเมริกาเหนือ และ เอเชีย) ในส่วนของประเทศไทยดำเนินการผลิตโดยบริษัท Rockwool Thailand


ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อร็อควูล Rockwool ผลิตจากหินบะซอลต์ หรือหินภูเขาไฟ มีคุณสมบัติไม่ติดไฟและมีจุดหลอมเหลวมากกว่า 1,000°C เป็นฉนวนที่เหมาะกับการใช้งานเพื่อป้องกันความร้อนป้องกันไฟและกันเสียง ผลิตจากหินแต่มีรูปร่างลักษณะและการใช้งานเหมือนขนสัตว์ ซึ่งเป็นฉนวนธรรมชาติ วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสำหรับร็อควูล คือ หินปูนและหินบะซอลต์ โดยวัตถุดิบจะถูกหลอมในเตาที่อุณหภูมิประมาณ 1300 ๐C วัตถุดิบที่หลอมเหลวจะถูกทำให้เป็นเส้นใย เส้นใยเหล่านี้จะถูกเคลือบด้วยสารผนึกที่เป็นเทอร์โมเซตติ้ง ซึ่งเมื่อบ่มด้วยความร้อนแล้วจะเชื่อมเส้นใยเข้าด้วยกันเป็นผืน หลังจากนั้นจะถูกตัดเป็นชิ้นส่วนขนาดต่างๆ ทั้งชนิดแผ่นที่มีขนาดเล็กและแข็ง หรือชนิดม้วนที่มีขนาดใหญ่กว่าร็อควูลชนิดแผ่นและม้วนที่ผลิตได้จะมีความหนาแน่นและความหนาต่างกันได้หลายขนาด ความหนาแน่นปกติอยู่ช่วง 40 – 200 กก./ลบ.ม. และความหนาปกติอยู่ในช่วง 50 – 200 มม. ฉนวนแบบท่อที่ขึ้นรูปไว้ล่วงหน้า สามารถนำมาใช้ผลิตท่อต่างๆและสามารถจะเคลือบผิวได้หลายแบบ รวมทั้งฟอยล์อลูมิเนียมและผ้าใยแก้ว


ฉนวนกันความร้อน Rockwool หรือ Rockwool Insulation มีคุณสมบัติเป็นฉนวนที่ดีเยี่ยม ในช่วงอุณหภูมิ -240 ๐c ถึง +820 ๐c ประโยชน์ใช้งานรวมถึงการกันความร้อน โดยฉนวนกันความร้อน Rockwool ที่ใช้กับงานผนังและฝ้าเพดานจะเป็นรุ่น Cool n Comfort การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยลดความร้อนในตัวบ้านหรืออาคารตั้งแต่หลังคาตลอดจนผนังห้องได้เป็นอย่างมาก ซึ่งจะช่วยลดการทำงานระบบปรับอากาศทำให้สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้อย่างมาก


ในส่วนฉนวนกันเสียง Rockwool จะมีให้เลือกใช้ตามการใช้งาน 4 รุ่น เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ อาคารสำนักงาน และอาคารที่พักอาศัยต่างๆ รวมถึงอาคารในโรงงานอุตสาหกรรม โดยฉนวนกันเสียง Rockwool จะมี 4 รุ่น คือ Safe ‘n’ Silent Pro330, Safe ‘n’ Silent Pro350 และ Safe ‘n’ Silent Pro370 ซึ่งแต่ละรุ่นก็มีความหนาทั้งหมด 3 ขนาดให้เลือกนั่นก็คือความหนา 50, 75 และ 90 มม. ฉนวนกันเสียง rockwool รุ่นดังกล่าวเหมาะสำหรับงานระบบผนังเบา โดยการติดตั้งฉนวนกันเสียง Rockwool จะช่วยลดเสียงลงได้ถึง 50% ซึ่งรุ่น Safe ‘n’ Silent Pro330 ราคาจะถูกกว่ารุ่นอื่นๆ จึงนิยมนำไปงานผนังภายในอาคารหรือสำนักงานทั่วไป





2. ฉนวนใยแก้วเซรามิกส์ไฟเบอร์, เซรามิคไฟเบอร์, ฉนวนใยแก้วกันความร้อน หรือ Ceramic Fiber


ceramic fiber block

มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่อุณหภูมิใช้งานสูงตั้งแต่ 1,260°C, 1,430 C ไปจนถึงอุณหภูมิ 1,600°C จึงนิยมใช้สำหรับเป็นวัสดุกันความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนสำหรับงานที่ต้องการป้องกันความร้อนรั่วไหล และเป็นฉนวนป้องกันอันตรายจากความร้อนที่แผ่ออกมา เช่น เตาเผา เตาหลอม ตู้อบ เตาอบพิซซ่า เตาอบขนม เตาเผาถ่าน เป็นต้น ใช้เป็นฉนวนสำหรับหุ้มถังเพื่อเก็บรักษาอุณหภูมิภายในถัง ใช้เป็นชั้นป้องกันความร้อน ในเตาความร้อนอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ และฉนวนใยแก้วเซรามิกส์ไฟเบอร์ Ceramic Fiber ยังมีคุณสมบัติไม่ติดไฟ จึงเป็นฉนวนกันไฟได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีค่านำความร้อนต่ำน้ำหนักเบามีความยืดหยุ่นทนต่อแรงดึงได้ มีอัตราการหดตัวทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิได้ดี โดยฉนวนใยแก้วเซรามิกส์ไฟเบอร์ , เซรามิคไฟเบอร์, ฉนวนใยแก้วกันความร้อน หรือ Ceramic Fiber จะมีลักษณะต่างๆ ให้เลือกใช้งาน เช่น Ceramic Fiber Blanket ลักษณะเป็นม้วนคล้ายผ้าห่ม ทำให้เหมาะสำหรับใช้งานเป็นฉนวนเตาอบ, ฉนวนเตาเผาถ่าน, ฉนวนเตาเผาเซรามิค, ฉนวนหุ้มท่อความร้อน เป็นต้น


3. ฉนวนไมโครไฟเบอร์ หรือ Microfiber

เป็นฉนวนที่ผลิตในประเทศไทย โดยของฉนวนใยแก้วจะมีสีเหลือง ซึ่งเป็นสีธรรมชาติที่มาการผลิตเนื่องจากใช้แก้วรีไซเคิล 100% เป็นวัตถุดิบหลัก

microfiber insulation

จุดเด่นของฉนวนกันความร้อนไมโครไฟเบอร์ คือ ในการผลิตจะเติมสารไม่อมน้ำ Non-Water Absorption ทําให้ความชื้นเข้าสู่ฉนวนไม่ได้ ฉนวนไมโครไฟเบอร์ ได้รับฉลากเขียวในการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้แก้วรีไซเคิล 100% และยังผลิตด้วยกระบวนการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ได้รับการรับรองโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความปลอดภัยจากสถาบัน IARC โดยทางผู้ผลิตฉนวนไมโครไฟเบอร์นได้มีทั้งฉนวนป้องกันความร้อนและฉนวนสำหรับงานดูดซับเสียง รวมทั้งงานที่ต้องการทนอุณหภูมิสูงสุด 350 C โดยผลิตขึ้นรูปทั้งแบบเป็นแบบม้วนและแผ่น รวมทั้งปิดผิวหน้าฉนวนด้วยวัสดุปิดผิวคุณภาพสูงจากโรงงาน เนื้อฉนวนทนทาน ไม่หลุดลุ่ย จึงมีอายุการใช้งานยาวนาน ติดตั้งง่ายเหมาะสำหรับห่อหุ้มถัง ท่อและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ท่อส่งลมร้อนในห้องครัว ผนังตู้อบ ผนังเตาอบ ผนังหม้อไอน้ำระบบประตูกันไฟในโรงแรม โรงพยาบาล อาคาร เป็นต้น


วัสดุที่ใช้งานหุ้มฉนวนกันความเย็น


1. ฉนวนยาง (EPDM RUBBER)


EPDM Rubber

ฉนวนชนิดท่อและแผ่นที่ผลิตจากยางอีลาสโตเมอร์ชนิดพิเศษ (EPDM) ประกอบไปด้วยเซลล์อิสระซึ่งมีผนังกั้นไม่ทะลุถึงกันเป็นจำนวนมากภายในเซลล์บรรจุด้วยอากาศแห้งด้วยคุณลักษณะเช่นนี้ฉนวนยางดำจึงมีคุณสมบัติเหนือกว่าฉนวนชนิดอื่นๆดังนี้ค่าการดูดซึมน้ำและค่าการแทรกซึมของไอน้ำ หรือความชื้นจากบรรยากาศต่ำมากค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (K- Value) ต่ำเพียง 0.038 W/mk มีความคงทนมากต่อโอโซน, รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต และสภาวะอากาศต่างๆรวมทั้งมีความยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอไปตามลักษณะท่อได้ง่าย ทำให้ทำการติดตั้งได้อย่างรวดเร็วจากคุณสมบัติดังกล่าวฉนวนยางดำจึงเป็นฉนวนที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับหุ้มท่อน้ำเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบศูนย์กลาง (Chilled water cooling system) และหุ้มท่อแก๊สฟรีออนของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน (Split Type) ทั้งนี้เพื่อลดการสูญเสียความเย็นและป้องกันการเกิดหยดเหงื่อ (Condensation) อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ฉนวนยางดำยังใช้ลดการสูญเสียความร้อนสำหรับท่อน้ำร้อนอย่างได้ผลเช่นกันโดยยี่ห้อที่นิยมใช้งานเช่นฉนวนยาง Armaflex และ ฉนวนยางแอโรเฟล็กซ์Aeroflex เป็นต้น

Comments

Couldn’t Load Comments
It looks like there was a technical problem. Try reconnecting or refreshing the page.
bottom of page